หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การเปลื่ยนแปลงภูมิภาคโลก

เรื่องที่ 1 ธรณีภาค

วัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ของชั้นเรียนนี้คือ ได้ศึกษาเรื่องธรณีภาค ได้แก่ โครงสร้างของเปลือกโลก การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก และปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

ใบความรู้ที่ 2 การเลื่อนของทวีป

แนวคิดทฤษฎีทวีปเลื่อนและหลักฐานสนับสนุน

โลกมีสมบัติทางกายภาพในแต่ละชั้นแตกต่างกัน ส่งผลให้โลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มนุษย์จึงต้องศึกษา และทำความเข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบันคือ ทฤษฎีธรณีแปรสัณฐาน ซึ่งอธิบายการเปลี่ยนแปลงของทวีปและมหาสมุทร โดยเชื่อว่า โลกเคยเป็นแผ่นดินเดียวกันมาก่อน หรือเรียกว่า พันเจีย (Pangaea) โดยแบ่งออกเป็นลอเรเซีย (Laurasia) และกอนด์วานา (Gondwana) ต่อมาเกิดการเลื่อนตัวของทวีป ส่งผลให้ทวีปต่างๆ เคลื่อนที่ออกจากกัน และเป็นทวีปดังเช่นในปัจจุบัน

อัลเฟรด เวเกอเนอร์ (Alfred Wegener) ได้ตั้งสมมติฐานว่าแผ่นดินทั้งหมดบนโลก เคยเป็นผืนแผ่นดินเดียวกันมาก่อน เรียกว่า พันเจีย เป็นภาษากรีก แปลว่า แผ่นดินทั้งหมด โดยมีพื้นที่ปกคลุมจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ ล้อมรอบด้วยมหาสมุทรพันทาลัสซา (Panthalassa) แบ่งทวีปเดียวกันนั้นเป็น 2 ส่วน

1. ลอเรเซีย คือ ส่วนเหนือเส้นศูนย์สูตร ประกอบด้วย ทวีปอเมริกาเหนือ กรีนแลนด์ และทวีปยูเรเซีย (ยกเว้นอินเดีย)

2. กอนด์วานา คือ ส่วนใต้เส้นศูนย์สูตร ประกอบด้วย ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปแอฟริกา ทวีปแอนตาร์กติกา ทวีปออสเตรเลีย อนุทวีปอินเดีย และเกาะมาดากัสการ์


หลักฐานที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อน ได้แก่

1. การต่อกันได้ของทวีป แสดงว่าทวีปต่างๆ ในอดีต เคยเป็นทวีปขนาดใหญ่ทวีปเดียว ต่อมาเกิดการแยกตัว แต่ที่การเชื่อมต่อของทวีปต่างๆ ไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้สมบูรณ์

เป็นเพราะการกัดเซาะชายฝั่ง และการสะสมตัวของตะกอน ทำให้รูปร่างของขอบทวีปเปลี่ยนไป

2. หลักฐานจากความคล้ายคลึงกันของกลุ่มหิน และแนวภูเขา กลุ่มหินที่พบในทวีปอเมริกาใต้ ทวีปแอนตาร์กติกา ทวีปแอฟริกา ทวีปออสเตรเลีย และอนุทวีปอินเดียว เกิดใน

สภาพแวดล้อมบนบกที่หนาวเย็น และมีการระเบิดของภูเขาไฟเหมือนกัน แสดงว่าทวีปเหล่านี้เคยอยู่ติดกันมาก่อน

3. หลักฐานจากหิน ที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนจากธารน้ำแข็ง พบว่าแผ่นดินบริเวณกอนด์วานาถูกปกคลุมด้วยแผ่นน้ำแข็ง และทิศทางการเคลื่อนที่ของธารน้ำแข็ง

สอดคล้องกับรอยครูดในหินที่พบในทวีปต่างๆ จึงสนับสนุนแนวคิดที่ว่าทวีปต่างๆ เคยต่อเป็นทวีปเดียวกัน

4. หลักฐานซากดึกดำบรรพ์ ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ 4 ประเภทคือ มีโซซอรัส (สัตว์เลื้อยคลานน้ำจืด) ลีสโทรซอรัส (สัตว์เลื้อยคลานอาศัยอยู่บนบก) ไซโนกาทัส (สัตว์เลื้อย

คลานอาศัยอยู่บนบก) และกลอสโซพเทรีส (พืชตระกูลเฟิร์น) ในทวีปต่างๆ เนื่องจากสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่พบ ไม่สามารถว่ายน้ำข้าม หรือใช้ลมพัดสปอร์เคลื่อนที่ได้ระยะทางไกล แต่กลับค้นพบซากดึกดำบรรพ์กระจายอยู่ในหลายทวีป จึงสนับสนุนว่าแต่ละทวีปเคยอยู่ติดกันมาก่อน


คำบรรยายภาพของชั้นเรียน

เกี่ยวกับฉัน

บอกเล่าให้นักเรียนรู้จักตัวคุณ เหตุผลที่คุณตัดสินใจเป็นครู สิ่งที่คุณตื่นเต้นและคาดหวังในภาคการศึกษาที่จะมาถึง

แหล่งข้อมูล

ช่วยให้นักเรียนและผู้ปกครองแก้ไขปัญหาหรือหาข้อมูลด้วยตนเองได้ด้วยการระบุแหล่งข้อมูลที่เข้าถึงง่าย

เว็บไซต์สำหรับนักเรียน

  • [ลิงก์]

  • [ลิงก์]

  • [ลิงก์]

เว็บไซต์สำหรับผู้ปกครอง

  • [ลิงก์]

  • [ลิงก์]

  • [ลิงก์]

แบบฟอร์มของโรงเรียน

  • [ลิงก์]

  • [ลิงก์]

  • [ลิงก์]

ใบความรู้ที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของธรณีภาค

1. การเคลื่อนที่แยกจากกัน (Divergent) เกิดขึ้นบริเวณรอยต่อของแผ่นธรณีภาค ซึ่งโดยส่วนมากจะเกิดขึ้นใต้มหาสมุทร การแยกตัวออกจากกันนี้ ส่งผลให้เกิดร่องลึกใต้ทะเล (Oceanic trench) ที่ทำให้หินหนืดดันตัวขึ้นมาตามรอยแยกดังกล่าว ก่อนสัมผัสกับอุณหภูมิที่ชั้นเปลือกโลกและเย็นตัวลง จนกลายเป็นแนวสันเขาและแนวภูเขาไฟใต้มหาสมุทรในท้ายที่สุด แต่ถ้าหากการแยกตัวออกจากกันนี้ เกิดขึ้นบนพื้นทวีปจะก่อให้เกิดหุบเขาทรุด (Rift valley) เช่น เดอะ เกรท ริฟท์ วัลเลย์ (Great Rift Valley) ในทวีปแอฟริกา